TLSP ขานรับแผนคมนาคมช่วยฟื้นเศรษฐกิจไทย

TLSP ขานรับแผนคมนาคมช่วยฟื้นเศรษฐกิจไทย เปิดแผนโครงข่ายคมนาคม อภิโปรเจค ที่ตอบโจทย์และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น ขณะที่ภาคเอกชนทั้งสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย(TLSP) แอตต้า และ ส.อ.ท. มองว่าถ้าทำจริงตามแผนจะก่อเกิดประโยชน์ต่อประชาชนมหาศาล และสร้างไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในอาเซียน ดันธุรกิจท่องเที่ยวฟื้น ขอให้ทำตามแผนและได้ใช้เร็วที่สุด

นายศักดิ์สยาม  ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษ “ชีวิตคนไทยจะดีขึ้นอย่างไรบนแผนคมนาคม”  ในงานสัมนา” THAILAND FUTURE SMART & SUSTAINABLE MOBILITY ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน”  ในเวทีเสวนา เรื่อง “โอกาสของประเทศไทยกับการได้ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม”  โดยมี วิทยากรเสวนา ประกอบด้วย คุณชยธรรม์   พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม  คุณศิษฎิวัชร  ชีวรัตนพร   นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA)  คุณสุวิทย์   รัตนจินดา   ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย  คุณสุพันธุ์   มงคลสุธี   ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตนได้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้มาทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคม เพื่อพัฒนาระบบขนส่งภายในประเทศโดยตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งการลงทุนในโครงการขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาสาธารณูปโภคที่สำคัญ แม้ปัจจุบันประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ว่าโครงการต่างๆ ของคมนาคมไม่ได้หยุด หรือมีการชะงักการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงข่ายสำคัญที่จะเชื่อมโยงการเดินทาง

อย่างไรก็ตาม เครื่องจักรสำคัญเศรษฐกิจของไทยนั้นมีทั้งภาคการท่องเที่ยว แน่นอนว่าตอนนี้ยังได้รับผลกระทบจากโควิด เรื่องของการลงทุนภาคเอกชนก็ชะลอตัวจากโควิดเช่นกัน ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่สำคัญของรัฐบาลที่ต้องเร่งดำเนินการให้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้  โดยการพัฒนาระบบน้ำ ไทยมีโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ สำหรับเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน หรือ แลนด์บริดจ์ ที่จะเป็นโครงข่ายหนึ่งที่สำคัญในการขนส่งของประเทศ  และ การพัฒนาทางอากาศ ไทยมีการพัฒนาสนามบินภายในประเทศ สำหรับรองรับการเดินทางของประชาชน นักท่องเที่ยวในอนาคต โดยผลการศึกษาของ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IRTA ประเมินว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความพร้อมรองรับผู้โดยสารที่คาดว่าจะกลับมาภายหลังภาวะโควิด ในระดับประมาณ 65 ล้านคนต่อปี เท่ากับช่วงก่อนเกิดโรคโควิด-19 ได้ในปี 2568

สำหรับการพัฒนาขนส่งทางบก หรือถนนนั้น มีการวางแผนโครงข่ายเชื่อมโยงเส้นทางสำคัญๆ ของประเทศเอาไว้ ไทยมีถนนโครงข่ายในประเทศ 9 แสนกิโลเมตร โดยกระทรวงคมนาคมดูแลอยู่ประมาณ 4 แสนกิโลเมตร โดยกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และการทางพิเศษเป็นผู้ดูแล  “โจทย์สำคัญของเราคือ ต้องเพิ่มความสะดวกสบายในทุกการเดินทางไม่ว่าจะเป็นทางน้ำ ทางบก ทางราง ทางอากาศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ซึ่งโครงการไหนที่สามารถดำเนินการได้เราก็เร่งดำเนินการในทันที แต่โครงการไหนที่เป็นการต่อเนื่อง เราก็จะศึกษาข้อมูลเอาไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาเราก็พร้อมที่จะลงทุนในทันที  เราได้พัฒนาการขนส่งทั้ง 4 มิติ ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจไทย รวมถึงเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้พัฒนารถไฟทางคู่ครอบคลุมทั้งประเทศ รถไฟความเร็วสูงไทยจีน รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และการสร้างสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางระบบรางที่สะดวกในประเทศไทย ที่เชื่อมการเดินทางในประเทศ และภูมิภาคอาเซียน

นายสุวิทย์ รัตนจินดา ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย (TSLP) กล่าวว่า การลงทุนโครงข่ายคมนาคมของกระทรวงคมนาคมครอบคลุมทั้งทางบก อากาศ น้ำ จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งโลจิสติกส์อย่างมาก หากทำได้ตามแผนจะส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียนได้แน่นอน   “นโยบายของกระทรวงคมนาคม ที่ทุ่มงบประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท ไม่ได้สร้างความสำคัญให้เฉพาะภาคขนส่งโลจิสติกส์เท่านั้น แต่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมาก เช่น โครงการขยายแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง จะช่วยนำเม็ดเงินเข้าประเทศมหาศาล ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางขนส่งโลจิสติกส์ อย่างไรก็ตาม ทุกโครงการต้องใช้เวลาดำเนินการ หากทำจริงและเป็นรูปธรรม เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์มหาศาลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย”

นายสุวิทย์ฯ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า  กรณีเส้นทางรถไฟลาว-จีน ที่ใช้เวลาดำเนินการ 5 ปี และเปิดให้บริการเมื่อเดือน ธ.ค.2564ที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ฝั่งลาวคึกคัก และเป็นที่จับตามอง ซึ่งประเทศไทยเฝ้ารอที่จะร่วมโครงการในช่วงกลางปีนี้ เพื่อส่งออกสินค้าเกษตร อาหารของไทย ซึ่งการใช้เส้นทางลาว-จีน-คุนหมิง ใช้เวลาเพียง 2-3 วัน ถือว่ารวดเร็วกว่าการขนส่งทางเรือ และเส้นทางนี้จะเป็นเกตเวย์การส่งออกของไทย และเชื่อมโยงเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตอันใกล้นี้

 

เกียรติยศ  ศรีสกุล (บรรณาธิการ)

ติดต่อโฆษณา โทร.0949608555

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

มทร.สุวรรณภูมิ มุ่งผลิตบัณฑิตนวัตกรรม เสริมอุตสาหกรรมประเทศ พร้อมสนับสนุนชุมชน

รองศาสตราจารย์ ดร.ประมุข อุณหเลขกะ  อธิการบดีมหาวิ […]

You May Like

Subscribe US Now