สมุทรปราการ-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางด้วน นำกากหมาก และ ใบไม้ มาผลิตเป็นจาน สร้างรายได้และลดปัญหาขยะ

วันที่  (11 ก.ย.66 ) ชาวบ้านใน ตำบลบางด้วน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยการนำของ กำนันตำบลบางด้วน ซึ่งเป็นผู้นำชุมชน ได้จัดตั้ง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อรวมตัวช่วยกันทำ จาน ภาชนะ จากธรรมชาติ โดยใช้ กากหมาก และ ใบไม้ต่าง ๆ ที่หาได้ภายในชุมชนเป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งเป็นการลดปัญหาขยะในชุมชน และ เป็นการส่งเสริมรายได้ให้แก่สมาชิกในชุมชน ซึ่ง ราคานั้นก็แล้วแต่ขนาดของภาชนะ   โดยขั้นตอน ก็ต้องหาวัตถุดิบจากภายในชุมชน เช่น กากหมาก ใบไม้ นำมาตากให้แห้ง ล้างทำความสะอาด และ นำขึ้นรูปเป็นจานโดยเครื่องจักร ซึ่งใช้ความร้อนกว่า 180 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะ จานจากธรรมชาติ ขณะนี้กำลังเป็นที่ต้องการของ ห้าง ร้าน ที่ให้ความสำคัญกับการใช้ของธรรมชาติเพื่อช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

นายบัญชา มั่นทองคำ อายุ 51 ปี กำนันตำบลบางด้วน เผยว่า แนวคิดมาจากการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในหมู่บ้าน และ ชุมชน เช่น ใบไม้ ใบจาก นำมาทำเป็นภาชนะที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เอามาใส่ ขนม อาหาร เพื่อเป็นการลดภาวะโลกร้อน และ ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม ก็นำใบไม้ที่อยู่ในชุมชนมาก่อให้เกิดการ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับชุมชน โดยการขึ้นรูปในรูปแบบต่าง ๆ ส่วนตัวที่นำมาโชว์เป็นผลงานที่ทำมาจากกากหมาก และ งานใบไม้ที่อยู่ชุมชน และ ในวันนี้ก็นำมาโชว์ในงานของวัฒนธรรมจังหวัด ตนในนามตัวแทนของตำบลบางด้วน ก็ขอนำเสนอภาชนะที่ทำจากใบไม้ และ วันนี้ก็ร่วมทำกิจกรรมกับทีมงานด้วย ใบไม้ทุกใบที่มีอยู่ในชุมชนสามารถนำมาทำเป็นภาชนะได้ เช่น ใบตอง กากหมาก ต้นทองกวาว แต่ต้องนำไปตากแห้งก่อนจะนำมาทำการขึ้นรูป ถือว่าเป็นนวัตกรรมในชุมชนเพื่อลดขยะด้วย และเรามีความคิดว่าขยะมันล้นเมือง ก็น่าจะช่วยกันรณรงค์ การรณรงค์สิ่งหนึ่งที่เราใส่ใจก็คือการเอาใบไม้มาทำเป็นภาชนะ เพราะว่าภาชนะใช้ทำวัน เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพด้วย และ ตอนนี้ก็มีลูกค้าตามห้างสรรพสินค้า ตามร้านค้า ร้านอาหารตามสั่ง ได้มาสั่งทำ ก็ทำให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับชุมชนไม่น้อยเลย ทางกลุ่มของเราก็มีการส่งเสริมในชุมชนก่อน หลังจากนั้นแล้วจะเปิดเป็นฐานการเรียนรู้ของชุมชน ก็ให้กับนักเรียน นักศึกษา หรือ นักท่องเที่ยว ที่มาเป็นกลุ่ม เป็นหมู่คณะ ก็สามารถไปเรียนรู้ได้ที่ตำบลบางด้วน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยปัจจุบันนี้ ก็มีนักท่องเที่ยวมามากมายก็จะคิดต่อหัวต่อคน คนละ 100 บาท ก็จะได้เอาใบไม้มาหรือเอาใบไม้ในชุมชนมากดเพื่อเป็นภาชนะแล้วก็นำกลับไปใช้ได้เลย นอกจากภาชนะใบไม้ ยังมีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น แซ่ปัดยุงก็มีอีกหนึ่งซิกเนเจอร์ของเรา ที่เราเอาต้นจากที่มีอยู่ในชุมชนมาสาน ตอนนี้ก็ส่งออกไปทาง ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ เชียงราย ก็เป็นหมู่บ้านเดียวที่ยังคงวิถีชีวิตของแซ่อยู่

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่กลุ่ม ทำขึ้นนอกจากจานธรรมชาติแล้ว ยังมี สิ่งของที่ระลึกหลากหลายชนิด ที่สำคัญเป็นการนำสิ่งของที่คนส่วนใหญ่คิดว่าไร้ค่า มาทำเป็นเงิน นอกจากสร้างรายได้เสริมให้ชาวบ้านแล้ว ยังลดปัญหาขยะที่เป็นปัญหาใหญ่ในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งการทำจานจากธรรมชาติไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร แต่ก็เป็นการพึงพาตนเองในชุมชน และ ลดปัญหาปริมาณขยะในชุมชนที่ออกไปสู่ภายนอก

สุรศักดิ์ คงสินธ์ / ธนวัต นาคขำ จ.สมุทรปราการ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

สมุทรสงคราม-คุมตัว6ตำรวจขออำนาจศาลฯฝากขังโดยไม่ให้ประกันตัวญาติขออุทธรณ์

ตำรวจ สภ.เมืองตำรวจสงครามวางกำลังป้องกันความปลอดภั […]

You May Like

Subscribe US Now