เสี่ย“ชัชชัย”นำทีมศิลปิน ดารา นักร้อง เป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีวัดเกจิชื่อดังเมืองกรุงเก่า

วันที่ (6 พ.ย.65) ที่ วัดป้อมรามัญ ตำบลสวนพริก อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คณะศิษยานุศิษย์ พระครูเกษมจันทวิมล หรือพระอาจารย์แดง เกจิชื่อดังเมืองกรุงเก่าด้านเมตตา มหานิยม  เจ้าของฉายานิ้วมหามงคล  เจ้าอาวาสวัดป้อมรามัญ  ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2565  นำโดย นายชัชชัย ศาสตราภัย นักธุรกิจชื่อดัง เป็นประธานทอดกฐินสามัคคี และคุณไอรษา อิงษรานนท์ ชาวจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของบริษัทมันนี่พร้อมลิสซิ่ง   นางฉวี ซิมมอนด์ส  คุณแม่ของปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก  และ มีดารานักร้องนักแสดง อาทิเช่น เขาทราย แกแล็คซี่ , ตู้ ดิเรก อมาตยกุล, เก้า กรุงเก่า, กุ้ง สาริกา,ปอ จอมนางแห่งลุมพินี และพระเอกลิเก  เคน  ขวัญใจ ไมตรี และชาวบ้าน ได้ร่วมใจกันเป็นเจ้าภาพ ทอดกฐินสามัคคี  ในวันนี้   มีช้างจากวังช้างอยุธยาแลเพนียด  จำนวน 3 เชือกโชว์ลีลาออกสเต็ปการเต้นไปตามจังหวะเสียงเพลง ในขบวนแห่ผ้ากฐินสามัคคี  แห่รอบอุโบสถ 3  รอบ ก่อนนำผ้ากฐินสามัคคีถวายแด่พระภิกษุสงฆ์  จากนั้นพระสงฆ์ได้ปวารณารับผ้ากฐิน  โดยพระอาจารย์แดงได้มอบท้าวเวสสุวรรณให้กับเจ้าภาพกฐินและเจ้าภาพร่วม  และปู่ชูชกเศรษฐีให้กับญาติโยมที่มาร่วมทำบุญทุกคน  พร้อมกันนี้ไดมีญาติโยมศิษย์พระอาจารย์แดงมาตั้งโรงทานแจกอาหารและเครื่องดื่มให้กับผู้ที่มาร่วมทำบุญได้อิ่มท้องอิ่มบุญกันทุกๆคน

การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น ถือว่าเป็นการสร้างบุญใหญ่ที่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง การร่วมเป็นเจ้าภาพนั้นหมายถึง เป็นกฐินสามัคคีที่ทุกคนร่วมเป็นเจ้าภาพได้ จะร่วมเป็นเจ้าภาพใส่ซองหนึ่งบาทหรือพันบาท ก็ถือว่าร่วมเป็นเจ้าภาพได้บุญทั้งสิ้น สำหรับการทอดกฐิน-ทอดผ้าป่าสามัคคีวัดป้อมรามัญ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมของชาวพุทธแต่โบราณหลังจากออกพรรษา ในปีนี้มีผู้ที่ร่วมทำบุญถวายปัจจัยกฐินรวมเป็นเงิน  878587.25 บาท โดยทางวัดได้จัดโรงทานสำหรับผู้ที่มาร่วมทำบุญได้รับประทานอาหารกันอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง

คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อนแล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มี ความชำนาญเหมือนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอเหมือนจักรเย็บผ้า ในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตรพระมหาโมคคัลลานะพระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว

ยุพิน  ศรีสกุล จ.พระนครศรีอยุธยา  

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

อยุธยา-เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ประสานความร่วมมือวัดศาลาปูนวรวิหาร ช่วยเหลือประชาชนระบายน้ำออกจากพื้นที่ทุ่งภูเขาทองหลังน้ำเริ่มเน่าเสีย

วันที่ (5 พ.ย.65 )  นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชก […]

You May Like

Subscribe US Now