โครงการ โคกหนองนาโมเดล ซึ่งทางกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัย และ นวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ แหล่งเรียนรู้ด้านวิชาชีพ และ เทคโนโลยี และ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้ร่วมกันดำเนินโครงการ โดยใช้ระยะเวลา 11 เดือน หากผลสำเร็จลุล่วง ก็จะเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับชาวบ้านได้มีอาชีพ สร้างรายได้ อย่างถูกวิธี เชิดชูวัฒนธรรมของดีในท้องถิ่นสู่สายตาของสาธารณะชนทั่วโลก
นางสาวพรทิพย์ มากมี อายุ 24 ปี เจ้าหน้าที่ส่งเสริมงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน เปิดเผยว่า โครงการ u2t ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ในครั้งนี้จัดขึ้นโดยการเชิญวิทยากรคนสำคัญของตำบลบ้านกุ่มในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับประวัตินายขนมต้ม การวาดภาพศิลปะแม่ไม้มวยไทย การทำก้านธูป ดนตรีไทย วัดจุฬามณี โดยได้ให้ลูกหลานตำบลบ้านกุ่มตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการเป็นมัคคุเทศก์น้อย โดยกิจกรรมในวันนี้เชื่อมโยงกับกิจกรรมมัคคุเทศก์น้อยในวันที่ 14 ที่น้องๆไปปั่นจักรยานลงสถานที่จริง ไม่ว่าจะเป็นอนุสาวรีย์นายขนมต้ม วัดจุฬามณี สวนพอเพียง โคกหนองนาบุญเพื่อเรียนรู้สถานที่จริง และ สามารถนำความรู้ที่ได้มาผสมผสานกับความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมเสวนาในวันที่ 13 เพื่อพัฒนาตนเองเป็นมัคคุเทศก์น้อยเพื่อให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว และ คนในชุมชน ซึ่งเด็กๆจะได้เรียนรู้ของดีของเด่นเอกลักษณ์บ้านกุ่ม ทั้งการทำก้านธูปที่เป็นอาชีพรองของตำบลบ้านกุ่ม และนายขนมต้ม รวมถึงวัดจุฬามณี โดยบ้านกุ่มมี รพ.สต.เดียว วัดเดียว และ โรงเรียนเดียว
นายขนมต้ม เป็นนักมวยคาดเชือกชาวกรุงศรีอยุธยา เกิดที่ตาบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรนายเกิด และ นางอี่ มีพี่สาวชื่อ นางเอื้อย ทั้งพ่อ แม่ และพี่ถูกพม่าฆ่าตายหมด และต้องไปอยู่วัดตั้งแต่เล็ก และเริ่มฝึกวิชามวยไทยตั้งแต่แตกเนื้อหนุ่ม จนในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยา เสียแก่พม่า ครั้งที่ 2 จึงถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยศึกนายขนมต้ม สร้างชื่อเสียงให้กับกรุงศรีอยุธยาและชาติไทย โดยอาศัยความสามารถในเชิงหมัดมวย ดังข้อความตอนหนึ่งว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรามีนักมวยไทย คือ นายขนมต้ม ออกไปแสดงฝีไม้ลายมือถึงเมืองพม่า วันที่ชกมวยของนายขนมต้มนั้นคนวงการมวยถือว่าเป็น “วันนักมวยไทย” คือ ในวันที่ 17 มีนาคม ของทุกปีในพงศาวดารกล่าวว่า “เมื่อพระเจ้ามังระ โปรดให้ปฏิสังขรณ์ และก่อเสริมพระเจดีย์ชเวดากองในเมืองย่างกุ้งเป็นการใหญ่นั้น ครั้งงานสำเร็จลุล่วงในปี พ.ศ.2317 พอถึงวันฤกษ์งามยามดี คือ วันที่17 มีนาคม จึงโปรดให้ทำพิธียกฉัตรใหญ่ขึ้นไว้บนยอดปฐมฤกษ์ แล้วได้ทรงเปิดมหกรรมการฉลองอย่างมโหฬาร ขุนนางพม่าได้กราบทูลว่า “นักมวยไทยมีฝีมือดียิ่งนัก”พระเจ้ามังระจึงตรัสสั่งให้นำเอาตัวนายขนมต้ม นักมวยดีมีฝีมือ ตั้งแต่ครั้งกรุงเก่ามาถวาย พระเจ้ามังระได้ให้จัดมวยพม่าเข้ามาเปรียบกับนายขนมต้ม โดยจัดให้ชกต่อหน้าพระที่นั่ง ปรากฏว่านายขนมต้ม ชกพม่าไม่ทันถึงยก พม่าก็แพ้ถึงเก้าคน สิบคนก็สู้ไม่ได้ พระเจ้ามังระ ทอดพระเนตรยกพระหัตถ์พระอุระตรัสสรรเสริญนายขนมต้ม ว่า“ คนไทยนี้มีพิษสงรอบตัว แม้มือเปล่ายังเอาชนะคนได้ถึงเก้าคน สิบคน นี่หากว่ามีเจ้านายดี มีความสามัคคีกัน ไม่ขัดขากันเอง ไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว และโคตรตระกูลแล้ว ไฉนเลยกรุงศรีอยุธยา จะเสียท่าแก่ข้าศึกดังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ”
เหตุการณ์ที่นายขนมต้มชกชนะนักมวยพม่า เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2317 จึงถือว่าวันที่17 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันเกียรติประวัติของนักมวยไทย ถือเป็น “วันมวยไทย”เนื่องจากนายขนมต้มเป็นชาวพระนครศรีอยุธยา เกิดที่ตาบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล ชาวตำบลบ้านกุ่ม จึงได้พร้อมใจร่วมกันสร้างศาลนายขนมต้ม และ อนุสาวรีย์นายขนมต้ม เพื่อเป็นเกียรติประวัติของนักมวยไทยและชาวตาบลบ้านกุ่ม ไว้ที่บริเวณหน้าโรงเรียนจุฬามณี ตาบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล ซึ่งอนุสาวรีย์นายขนมต้ม มีความสูง 2.4 เมตร ประดิษฐานที่บริเวณหน้า โรงเรียนวัดจุฬามณีตาบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
นอกจากจะสร้างเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวแล้ว ยังจะมีการผลิตเสื้อ กางเกงกีฬา รูปปั้น ภาพวาด ตลอดจนอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการชกมวย ไว้เป็นของที่ระลึกสินค้าโอท็อป ไว้จำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว ที่มาท่องเที่ยวในหมู่บ้านท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ และ แหล่งเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้สู่สังคม ส่งเสริมเชิดชูภูมิปัญญาจุดเด่นของ ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา การเก็บฐานข้อมูล big data เป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับชาวบ้านได้มีอาชีพ สร้างรายได้ อย่างถูกวิธี เชิดชูวัฒนธรรมของดีในท้องถิ่นสู่สายตาของสาธารณะชนทั่วโลก
เกียรติยศ ศรีสกุล ผอ.ข่าว TOPNEWS ภาคกลาง