ผู้สื่อข่าวรายงานมาว่า ที่ ห้องประชุมอโยธยา ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายวีระชัย นาคมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มอบหมายให้ นายไพรัตน์ เพชรยวน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานฯ ร่วมประชุมกับตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และภาคเอกชน จำนวนกว่า 200 คน นำโดย นางสาวบงกช แจ่มทวี ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายจรูญศักดิ์ ศรีโภชน์สมบูรณ์ ประธานหอการค้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ เพื่อประชุมชี้แจงถึงสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน และคาดการสถานการณ์น้ำที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ข้อมูลสถานการณ์น้ำ และสร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชน ในการเตรียมความพร้อมรับมือ และการป้องกันอุทกภัยในพื้นที่เศรษฐกิจในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของภาคราชการและรัฐบาล พร้อมร่วมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยของภาคเอกชน
กอปภ.อยุธยา ติดตามสถานการณ์น้ำ วันนี้ลดลง 3 – 7 ซม เตือนประชาชนติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด
นายวีระชัย นาคมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับรายงานจาก ผอ.โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา แจ้งสถานการณ์น้ำ วันที่ 3 กันยายน 2565 เวลา 06.00 น ปริมาณน้ำไหลผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา สถานี C13 ที่ 1,769 ลบ.ม/วินาที เมื่อวาน 1,799 ลบ.ม/วินาที ระบายน้ำลดลง 30 ลบ.ม/วิ ระดับน้ำที่ C35 บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา ระดับตลิ่ง 4.35 ม. ระดับน้ำ 4.28 ม. เมื่อวาน 4.31 ม ระดับน้ำลดลง 3 ซม.
สำหรับปริมาณน้ำไหลผ่านท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่สถานี S.28 อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ระบายน้ำ 251 ลบ.ม/วิ เมื่อวาน 255 ลบ.ม/วิ ปริมาณน้ำระบายลดลง 4 ลบ.ม/วิ ในส่วนระดับน้ำที่ สถานี S.26 (เขื่อนพระรามหก) อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ระบายน้ำที่ 441 ลบ.ม./วิ ระดับตลิ่ง 8 ม. ระดับน้ำ 5.29 ม. เมื่อวาน 5.64 ม. ระดับน้ำลดลง 35 ซม. สถานี S.5 (สะพานปรีดี-ธำรง) อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรียุธยา ระดับตลิ่ง 4.70 ม. ระดับน้ำ 3.38 ม. เมื่อวาน 3.45 ม. ระดับน้ำลดลง 7 ซม.
ทั้งนี้ ปภ.พระนครศรีอยุธยา สรุปรายงาน ประชาชนได้รับผลกระทบน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมใต้ถุนบ้าน จำนวน 8 อำเภอ 94 ตำบล 483 หมู่บ้าน 4 ชุมชน 17,308 ครัวเรือน รวมพื้นที่การเกษตร 7,801.75 ไร่ ไม้ผล/ไม้ยืนต้น 7 ไร่ ดังนี้ อำเภอเสนา รวม 7 ตำบล 47 หมู่บ้าน 3 ชุมชน 3,164 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 43 ไร่ อำเภอบางบาล รวม 13 ตำบล 65 หมู่บ้าน 2,355 ครัวเรือน และพื้นที่การเกษตร 804 ไร่ อำเภอบางไทร รวม 23 ตำบล 108 หมู่บ้าน 2,827 ครัวเรือน และพื้นที่การเกษตร 1,946 ไร่ อำเภอนครหลวง รวม 7 ตำบล 17 หมู่บ้าน 32 ครัวเรือน และพื้นที่การเกษตร 5,008.75 ไร่ ไม้ผล/ไม้ยืนต้น 7 ไร่ อำเภอผักไห่ รวม 11 ตำบล 76 หมู่บ้าน 2,984 ครัวเรือน อำเภอบางปะหัน รวม 7 ตำบล 18 หมู่บ้าน 333 ครัวเรือน อำเภอพระนครศรีอยุธยา รวม 14 ตำบล 69 หมู่บ้าน 1 ชุมชน 1,887 ครัวเรือน อำเภอบางปะอิน รวม 12 ตำบล 83 หมู่บ้าน 3,726 ครัวเรือน
สำหรับสถานการณ์ดังกล่าว ประชาชนเริ่มได้รับผลกระทบบางพื้นที่แล้ว เนื่องจากน้ำมีปริมาณที่สูงขึ้น แต่ถนนหนทางยังสัญจรไป – มาได้ ประชาชนยังดำเนินวิถีชีวิตของบ้านริมแม่น้ำ ใต้ถุนสูง มีเรือทุกบ้าน พร้อมมีไม้กระดานวางเพื่อเดินเข้าบ้าน โดยทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้สั่งการให้ทุกหน่วยที่มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบ และเฝ้าระวัง พื้นที่สำคัญ แบ่งเป็น 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เขตพระราชฐาน โบราณสถาน และวัดที่สำคัญ พื้นที่เขตเศรษฐกิจ นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่างๆ และพื้นที่ชุมชนหนาแน่น เขตเทศบาลนคร เทศบาลเมือง ทั้งนี้ ได้ตั้งวอร์รูมและติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ ได้ประสานติดตั้งเครื่องสูบน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรแล้วกว่า 6 ล้านคิว ทำให้สามารถรักษาที่นาได้ 1 หมื่นกว่าไร่ โดยได้การสนับสนุนติดตั้งเครื่องสูบจาก ศูนย์ป้องและบรรเทาสาธารณภัย เขต 2 สุพรรณบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานท้องที่ท้องถิ่นในพื้นที่ ระดมเครื่องสูบมาสนับสนุนกว่า 50 เครื่อง นอกจากนี้ ยังได้ให้ความช่วยเหลือมอบถุงยังชีพ จำนวนกว่า 6 พันถุง
เกียรติยศ ศรีสกุล (บรรณาธิการ)