ปัตตานี-ดราม่าโครงการโคบาลไม่เหมือนที่ตกลงไว้ ด้านไชยา รมต.ช่วยเกษตรลงพื้นที่คุยชาวบ้าน ติดตามปัญหาที่เรื้อรังมานาน

วันที่ (29 มค.67 ) ผู้สื่อข่าวรายงานจากกรณีที่เกิดปัญหาของโครงการ “โคบาลชายแดนใต้ ภายใต้งบประมาณกว่า1,500 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวในจังหวัดปัตตานี ทีมีกลุ่มทั้งหมด16กลุ่ม ได้รับการสนับสนุนเงินกู้ยืมจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จัดหาแม่โคพื้นเมือง จำนวน 50 ตัว ตัวละไม่เกิน 17,000 บาท รวมเป็นเงิน 850,000 บาท รวมค่าก่อสร้างโรงเรือนจ่ายให้ กลุ่มละ 350,000 บาท     โดยบางกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวจ.ปัตตานีได้จัดซื้อวัวแม่พันธุ์ ได้ดูแลเลี้ยงดูวัวมาตั้งแต่วันที่ 8 เดือนธันวาคมปี2666 ที่ผ่านมา ซึ่งวัวที่ได้รับตั้งแต่แรก ปรากฏว่า มีสภาพผอมแห้ง และมีน้ำหนักน้อย อยู่ที่140 กิโลกรัม น้อยกว่าที่ผู้ประกอบการทำสัญญาในการส่งมอบอยู่ที่ 160 กิโลกรัม ในราคาตัวละ 17,000 บาท แม้ว่าชาวบ้านมีการให้หญ้าอาหารอยู่ตลอด จนผ่านมาหลายเดือนน้ำหนักวัวก็ยังไม่เพิ่มซักที    ทางกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวปัตตานี จึงออกมาร้องเรียนให้ผู้ประกอบการเข้ามาดูแล และเยียวยา ร่วมไปถึงการร้องเรียนให้ ให้ ป.ป.ช เข้าตรวจสอบโครงการดังกล่าว เพราะวันที่ส่งมอบมานั้น วัวไม่ตรงปก ทำให้กลุ่มกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวในโครงการนำร่อง ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ทำให้เกิดความกังวล บางกลุ่มต้องทำการขายวัว เพราะเลี้ยงมาหลายเดือนน้ำหนักวัวกลับไม่เพิ่ม เพราะวัวที่มาไม่สมบูรณ์ตั้งแต่แรก   ขณะที่ผู้ประกอบการก็มีการเข้ามาไกล่เกลี่ยกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว ปัตตานีแล้ว โดยยินยอมให้เปลี่ยนให้วัวใหม่ พร้อมมีการยกเลิกสัญญา โดยให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวเปลี่ยนไปทำสัญญาจัดจ้างบริษัทอื่นแทน ส่วนป.ป.ช. ขณะนี้ยังคงเฝ้าติดตามโครงการดังกล่าว เพื่อป้องกันการทุจริต ส่วนปศุสัตว์ปัตตานี มีการปรับดำเนินการเอกสารทำเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ระบุอย่างชัดเจน

สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่อยู่ในความดูแลของ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย ศอ.บต,กรมปศุสัตว์,กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,และกระทรวงมหาดไทย ภายใต้โครงการเมืองปศุสัตว์ภายใต้กรอบระเบียบเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2565-2571) ซึ่งการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ และปัจจุบันอยู่ในระยะนำร่องหรือระยะแรก จะจัดซื้อแม่พันธุ์วัว3,000 ตัว มีเกษตรกรเข้าร่วม 60 กลุ่ม ซึ่งมีเงินกู้ยืม 93 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด 1.20 ล้านบาท

ล่าสุดวันนี้ เวลา 10.30 น. วันที่ (29 ม.ค.67) นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางลงพื้นที่ กลุ่มเลี้ยงโคตันหยงลุโละ ม.2 ต.ตันหยงลุโละ อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี เพื่อรับฟังการดำเนินงานโครงการโคบาลชายแดนใต้ พร้อมพบปะเกษตรกรและรับฟังประเด็นปัญหาการดำเนินโครงการฯ   ซึ่งมีการถกเถี่ยงราคาที่ซื้อขายวัว ต่อ1 ตัว โดยนายสุรเดช หะยีสมาแอ รองประธานสภาเกษตรปัตตานี อ้างอีกว่าทุกครั้งที่เข้าประชุมโดยผู้ประกอบการในมีการบรรยาย และมีการโฆษณาคุณสมบัติอยู่ตลอดว่าวัวสวย สมบูรณ์ พร้อมที่จะผสมพันธุ์ เพื่อให้กลุ่มผู้เลี้ยงวัวได้เลี้ยง ตนขอชี้แนะว่าอยากให้ ศอ.บต.เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการที่จะขายโค โดยให้ผู้เลี้ยงวัวหรือผู้ซื้อได้มีสิทธิเลือกวัวของผู้ประกอบการนั้นๆ และบอกอีกว่า ราคาวัว 17,000 บาท ผู้เลี้ยงวัวกู้กับผู้ประกอบการเต็มวงเงิน แต่ราคาตลาดวันซื้อขายนั้นก็ไม่แน่ใจราคา โดยอ้างว่าตนเป็นคนเลี้ยงวัวมาและรู้ราคาจริงว่าวันวัวขนาดนี้ราคาตัวละกีบาท แต่เชื่อว่าราคาไม่ถึง17,000 บาท อย่างเช่นวัวที่อยู่ในฟาร์มนี้จากที่ดูก็อยู่ที่ราคา8,000 บาท ต่อ1 ตัว

นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า วันนี้ตั้งใจมาดูข้อเท็จจริงปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งในทางที่ถูกต้องนั้น ในวันที่ส่งมอบจะต้องทำเอกสารให้ครบสมบูรณ์ เพื่อให้เกษตรมีความมั้นใจว่าวัวที่มานั้นมีสภาพดี ถูกสุขลักษณะ ตามคุณสมบัติที่ทางปศุสัตว์ได้กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจโรค หรือน้ำหนักวัว โดยวันส่งมอบนั้นความพร้อมจะต้องมีให้กับผู้เลี้ยงวัว ซึ่งหลังจากนั้นไปจะต้องมีการแก้ไขต่อไป
สำหรับการเยียวยาเบื้องต้นแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงวัว ได้มีการให้ปศุสัตว์นำหญ้าแห้งไปแจกจ่ายในแต่ละกลุ่ม อย่างน้อยกลุ่มละ50 ก้อน ส่วนเรื่องวัวไม่ตรงสเปคนั้น ตนก้ได้มีการหารือกันแล้ว ถ้าจะเดินหน้าคต่อไป ทุกฝ่ายจะต้องมาพูดคุยกัน ซึ่งในเงื่อนไขต่างๆตนคิดว่าสามารถที่จะปรับได้ เพราะเป้าหมายคือการซื้อแม่พันธุ์มาผสมพันธุ์ผลิตลูกออกมาให้เติมโตเพื่อส่งขายต่อไป

ซึ่งแน่นอนเกษตรด้รับภาระในการที่จะต้องจ่ายคืนให้กับกองทุน ในปีที่4 ที่5 ที่6 ที่7 ซึ่งปีละ25% เพราฉะนั้นถ้าวัวไม่ออกลูก ไม่ตั้งท้องก็จะเป็นภาระของเกษตรกรที่ต้องหาเงินมาจ่าย จะมีการพูดคุยกันอีกครั้งในเรื่องของสัญญาที่สามารถจะปรับปรุงของผู้รับจ้าง ว่ามีการการันตีในเรื่องของหลักประกันอะไร ถ้าวัวไม่ติดลูกในระยะ1ปีหรือ2ปี จะต้องแก้อย่างไร เพื่อไม่ให้มีผลกระทบในระยะที่2ของโครงการนี้ ซึ่งเราต้องสร้างความเชื่อมั่น ไม่อยากให้ชาวบ้านมีความรู้สึกว่าเราไปยัดเยียดสิ่งไม่ดีให้กับเขา

จากการฟังประธานสภาเกษตร ที่เป็นตัวแทนของกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงวัว เราจะต้องพูดคุยกันหาวิธีการที่ดีที่สุด ตนอยากเสนอว่าเงินนี้เป็นเงินที่เกษตรการเขาทำสัญญากู้จากกองทุนเกษตรกร ดังนั้นเงินนี้จะต้องโอนให้เกษตรกร และมีอำนาจโดยตรงในการจัดซื้อว่าจะเลือกซื้อที่ใด หรือขนาดไหน ให้อยู่ในหลักเกณฑ์ ตนมองว่ารูปแบบต้องปรับใหม่ เพราะเรื่องนี้เป็นเงินของเกษตรกรเองที่เป็นคนทำสัญญา

ตอริก สหสันติวรกุล  จ.ปัตตานี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

อยุธยา-เทศบาลเมืองอโยธยาห่วงใยความปลอดภัย เด็กนักเรียนและพี่น้องประชาชน ร่วมมือกับครูและนักเรียนโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล ทาสีทางม้าลายที่จางให้เด่นชัดขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานมาว่า ที่ หน้าโรงเรียนวัดใหญ่ชัยม […]

You May Like

Subscribe US Now