ภัสสร์ศศิร์ ศรีแพงมน MilinProduction ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ “ จุดเทาในใจเธอ” ขนทัพดารานักแสดง ร่วมเดินพรมแดง มีบุคลากรในแวดวงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งในไทยและต่างประเทศเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดฉายหนังสั้นรอบชิงชนะเลิศ พร้อมพิธีปิดเทศกาลหนังเมืองแคน ครั้งที่ 7 ณ ขอนแก่นฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล ขอนแก่น ได้ปิดฉากไปอย่างสวยหรูยิ่งใหญ่อลังการ มี ทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมผู้กำกับ ดารานักแสดง ทั้งประเทศไทย สปป.ลาว กัมพูชา รวมถึงภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างคับคั่ง นางสาว ภัสสร์ศศิร์ ศรีแพงมน MilinProduction ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ “ จุดเทาในใจเธอ” ขนทัพดารานักแสดง กับผลงานการแสดง ครั้งแรกของคลื่นลูกใหม่ ทีมลูกสาวแม่ป๋อม น้องแตงโม,น้องอะตอม น.ส ณัฏฐณิชา ศฤงคาร,น้องพลอย ณิชกานต์ เฉลิมสุขสิริ, “แตงโม” ภัทราภา คำสีเเก้ว,“น้องเนเน่” อภิชญา ไมตรีสวัสดิ์, “น้องแก้ม” สิริญาพร จันนา ร่วมเดินพรมแดง ท่ามกลางสื่อมวลชน ประชาชน และแฟนคลับร่วมให้กำลังใจอย่างคับคั่ง
รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า เทศกาลหนังเมืองแคน ครั้งที่ 7 จัดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ และขีดความสามารถของนักศึกษา ตลอดทั้งประชาชน ในภาคอีสานและสาธารณรัฐประชาชนลาวได้ผลิตภาพยนตร์เชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศผนวกกับความคิดสร้างสรรค์มาผลิตภาพยนตร์พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงพลังทางความคิด การสร้างค่านิยมและประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่นไปสู่วงกว้าง ตลอดจนเป็นการผลักดัน Soft Power และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
สำหรับเทศกาลหนังเมืองแคน ครั้งที่ 7 ในปีนี้ดุเดือดไม่แพ้ปีที่ผ่านมากับการประกวดหนังสั้นหัวใจแก่น ธีม หวีดสยอง 2 ฝั่งโขงที่มีทีมผลิตภาพยนตร์เลือดใหม่ส่งผลงานร่วมคัดเลือกกว่า 70 ทีม และเป็น 20 ทีมสุดท้ายที่ฝ่าด่านหินจากเหล่าคณะกรรมการที่ได้รับเกียรติจากผู้กำกับชื่อดังจากไทยและ สปป.ลาว ก่อนที่จะได้ร่วมเวิร์กช็อปและลงพื้นที่ถ่ายทำจริงร่วมกับนักแสดง KAEN Film Academy เพื่อสร้างสรรค์หนังสั้นคุณภาพขับเคี่ยวกันในรอบชิงชนะเลิศ ตั้งแต่วันที่ 8-12 ธันวาคม 2566 และเป็น ทีมสองขวดน้อย กับผลงานเรื่อง ป่าสุขสันต์ วันอันตราย จากจังหวัดมหาสารคาม คว้ารางวัลชนะเลิศและรางวัลภาพยอดเยี่ยมไปครองได้สำเร็จ
อย่างไรก็ตาม กระทรวงวัฒนธรรม มีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในรูปแบบงบประมาณ สนับสนุนการดำเนินงานของผู้ผลิตภาพยนตร์ การนำผู้สร้าง ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ไปร่วมออกนิทรรศการในต่างประเทศ การหาตลาดใหม่ ๆ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรในด้านต่าง ๆ ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ยังทำให้มองเห็นแนวโน้มอุตสาหกรรมไทยมีทิศทางที่ดีขึ้น เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริม Soft Power อุตสาหกรรมภาพยนตร์ต่อไป