นายสมชาย รังวัฒนศักดิ์ นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศ(สทท.) กล่าวว่า งานของสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยถือว่าเป็นงานที่ใหญ่พอสมควรเนื่องจากมีมวลสมาชิกเทศบาลทั่วประเทศ 2,400 แห่ง ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ถือว่าเป็นตัวกลางในการรับฟังปัญหาข้อมูลต่างๆจากมวลสมาชิกทั้งประเทศและเป็นสื่อกลางที่จะนำเสนอปัญหาต่างๆนั้นไปสู่ระดับกระทรวงระดับกรมที่จะให้ลงมาช่วยดูแลแก้ไขปัญหา ซึ่งในส่วนนโยบายหลักๆในช่วงสมัยของนายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยท่านที่แล้วคือคุณพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ แห่งเทศบาลนครยะลา ได้วางพื้นฐานมีการปฏิรูปสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับของมวลสมาชิก อันดับแรกเลยก็คือการเติมเรื่ององค์ความรู้ให้กับมวลสมาชิกทั้งประเทศ สมาคมสันนิบาตเทสบาลแห่งประเทศไทยได้จัดหลักสูตรร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าในการจัดฝึกอบรมให้กับนายกเทศมนตรีโดยใช้ชื่อหลักสูตรว่านายกเทศมนตรียุคใหม่ โดยได้ดำเนินการไปแล้วทั้งหมด 5 รุ่น และกำลังเปิดรับสมัครเพิ่มอีก 3 รุ่น ต่อยอดเป็นรุ่น 6 รุ่น 7 รุ่น 8 ประมาณรุ่นละ 90 ท่าน เราต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีและกฎระเบียบต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตัวผมเองถึงแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับท้องถิ่นตั้งแต่ปี 2534 ตอนนั้นผมเป็นกรรมการสุขาภิบาลตำบลสนั่นรักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี พอมาปี 2538 เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาล จากนั้น 2542 สุขาภิบาลทั่วประเทศ 980 แห่งยกฐานะเป็นเทศบาลผมก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลสนั่นรักษ์ ต่อมาปี 2547 เทศบาลตำบลสนั่นรักษ์ยกฐานะจากเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมืองสนั่นรัก ผมก็ได้มีโอกาสรับใช้พี่น้องประชาชนให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสนั่นรักจนมาถึงปีพ.ศ. 2555 ก็ได้ลาออกไปเพื่อลงสนามการเมืองใหญ่ในการเลือกตั้งทั่วประเทศ ซึ่งก็หยุดการเมืองระดับท้องถิ่นไป 9 ปี พอมาถึงปี 2564 มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นอีกครั้งก็ได้รับความไว้วางใจจากพ่อแม่พี่น้องประชาชนได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามาใหม่เป็นผู้บริหารเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์อีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งหลังจากที่ได้กลับมากฎระเบียบต่างๆที่เคยยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติมีการเปลี่ยนแปลงไปมากอย่างรวดเร็ว หลักสูตรที่ทางสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยได้จัดร่วมกันกับสถาบันพระปกเกล้าถือว่าเป็นหลักสูตรที่ดีหลักสูตร 1 ช่วงเวลาในการอบรมก็ไม่ยาวนานประมาณ 1 สัปดาห์ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนของการอบรมทางสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยออกให้ทั้งหมด ผมเองได้มีโอกาสไปอบรมจึงกล้ายืนยันว่าหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ดีได้เติมเต็มองค์ความรู้ต่างๆที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆให้เราได้รู้กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆที่เราจะได้นำมาบริหารงานจะทำอย่างไรให้องค์กรของเราพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วแล้วก็ให้อยู่ในกรอบกฏเกณฑ์ของกฎหมายต่างๆที่กำหนด และอีกส่วนหนึ่งที่กำลังจะทำคือการลงนาม MOU ร่วมกับทาง DGA(สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจอทอล) ก็จะจัดฝึกอบรมคือต้องยอมรับว่าสมัยก่อนการทำงานใช้เครื่องพิมพ์ดีดปัจจุบันนี้เปลี่ยนมาเป็นคอมพิวเตอร์โดยสมัยก่อนนั้นประชาชนที่มาติดต่อราชการในด้านต่างๆไม่ว่าจะทะเบียนบ้านงานทำบัตรประชาชนหรือเสียค่าธรรมเนียมหรือขออนุญาตต่างๆก็ต้องมาด้วยตัวเอง ทางสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงเทคโนโลยีที่จะทำอย่างไรให้เอาเทคโนโลยีสิ่งใหม่ๆมาใช้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะช่วยให้การบริหารงานเกิดความคล่องตัวเกิดความรวดเร็วและเป็นที่พึงพอใจของพ่อแม่พี่น้องประชาชนในแต่ละเขตของเทศบาลทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ PLATFORM การรับเรื่องราวร้องทุกข์หรือมาขอเข้าคิวมาดำเนินการในเรื่องต่างๆหรือแม้กระทั่งการขออนุญาตหรือเสียค่าธรรมเนียมดำเนินการขยะอย่างนี้เป็นต้น จากที่เราได้ทำ MOU ร่วมกับ DGAเราก็ให้ทางเทศบาลเมืองแม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่เป็นเทศบาลนำร่องของสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ก็ถือว่าประสบความสำเร็จทาง DGA ได้มากำหนด PLATFORM ต่างๆให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับ GTA เพื่อจะเปิดหลักสูตรการอบรมทั้งหมดจำนวน 100 ครั้งๆละ 10 เทศบาลโดยใน 1 เทศบาลสามารถส่งผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนไม่เกิน 4 คนเพราะฉะนั้น 100 ครั้งถ้าทำได้ตามเป้าก็จะได้กลุ่มเป้าหมายเทศบาลทั่วประเทศ 1,000 แห่ง
โดยครั้งแรกจะใช้ศูนย์อบรมของเทศบาลเมืองแม่เหียะ ที่จังหวัดเชียงใหม่เนื่องจากว่าเขามีความพร้อมทั้งบุคลากรสถานที่รวมทั้งมีความชำนาญหลังจากที่ได้เปิดใช้ PLATFORM อะไรต่างๆมาแล้วนโยบายต่อไปถ้าเป็นไปได้ก็คงกระจ่ายสู่ไปแต่ละภาคในส่วนของสมาคมสันติบัตรเทศบาลแห่งประเทศไทย มีด้วยกันทั้งหมด 5 ภาพประกอบด้วยภาคเหนือภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคใต้และภาคตะวันออกจะมีกระจายเป็นศูนย์อบรมแต่ละภาคโดยใช้ต้นแบบของเทศบาลเมืองแม่เหียะเป็นตัวนำร่อง ปัญหาหลักๆก็คือกฎระเบียบหรือข้อบังคับซึ่งกฎหมายกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งกฎระเบียบที่ใช้บังคับต่างๆออกมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานกว่า 40-50 ปีโดยไม่ได้มีการถูกแก้ไขซึ่งการพัฒนาในตอนนี้ความต้องการปัญหาความเดือดร้อนของพ่อแม่พี่น้องประชาชนนั้นเปลี่ยนแปลงไปแล้วเพราะฉะนั้นหลายๆเรื่องต้องมีการผลักดันมีการเรียกร้องเพื่อให้เกิดการแก้ไขหรือแม้กระทั่งงานบริหารด้านบุคคล เดิมทีในการสอบแข่งขันหรือการสอบคัดเลือกจากอดีตนั้นการบริหารงานด้านบุคคลเป็นอำนาจของท้องถิ่นซึ่งท้องถิ่นสามารถจัดการเปิดสอบได้เลยแต่ด้วยคำสั่งของ คสช.ฉบับที่ 6/2560 ซึ่งตอนนั้นมีปัญหาเรื่องความขัดแย้งสำหรับเจ้าหน้าที่กับผู้บริหารเมื่อมีความขัดแย้ง ณ ตอนนั้นไม่สามารถโยกย้ายใครได้ และที่สำคัญก็มีปัญหาอีกเรื่องหนึ่งการเปิดสอบการแข่งขันมีปัญหาเรื่องการทุจริตหลังจากคำสั่งนี้ออกมาก็ดึงส่วนของการสอบแข่งขันให้ไปอยู่ที่ส่วนกลางในการสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกก็ถูกดึงกลับไปส่วนกลางทั้งหมดแต่ในประกาศนั้นมีข้อแม้การคัดเลือก ทางกองกลางสามารถมอบอำนาจให้ต่อจังหวัดได้ เมื่อมาดูในคำสั่งนี้ คำสั่งของ คสช.ที่ 8/2560 ตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าถือว่าเป็นพระราชบัญญัติในการแก้ไขก็ต้องแก้ไขเป็นพระราชบัญญัติแต่ในมาตราสุดท้ายจำข้อไม่ได้แน่นอนโดยระบุไว้ชัดเจนว่า เว้นแต่อำนาจที่ใช้ในการบริหารสามารถเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกแก้ไขได้โดยมติของคณะรัฐมนตรีหรือคำสั่งของนายกรัฐมนตรีในส่วนตัวนี้ทางสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยก็พยายามจะผลักดันเพราะว่าตอนนี้ยุคสมัยและเวลาเปลี่ยนแปลงไปให้กลับมาเป็นอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหมือนเดิมก็ต้องยอมรับว่าถึงจะอยู่ในส่วนไหนจะอยู่ที่ส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่นถ้าจะมีปัญหาทุจริต มีได้ทุกภาคส่วนในส่วนตัวมองว่าแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับบุคคลเนื่องจากบุคคลเป็นผู้กระทำไม่ได้ขึ้นอยู่กับองค์กร ก็พยายามที่จะมีกฎหมายกฏระเบียบอะไรต่างๆหลายๆเรื่อง ซึ่งตอนนี้ทีมงานสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยจะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายผู้เชี่ยวชาญงานบริหารทางด้านบุคคลและเชี่ยวชาญทางการศึกษาตลอดจนคณะกรรมาธิการต่างๆทางสมาคมฯก็จะรวบรวมความคิดเห็นมวลสมาชิกทั่วประเทศรวมทั้งประธานสันนิบาตจังหวัดทั่วประเทศประธานสันนิบาตเทศบาลแต่ละจังหวัดทั่วประเทศในส่วนของกรรมาธิการบริหารของสมาคมสันนิบาตฯในส่วนของประธานภาคหรืออุปนายกของสามคมสันนิบาตฯก็พยายามที่จะรวบรวมปัญหาต่างๆของมวลสมาชิกว่าตอนนี้มีปัญหาอะไรบ้างหรือจากที่ได้รับทราบแล้วก็จะรวบรวมปัญหานำมาถกกันหาผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาช่วยกันว่าจะแก้ไขกันอย่างไรทิศทางจะไปในแนวไหนในเบื้องต้นก็คงเท่านี้
ส่วนในเรื่องของงบประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา สมัยก่อนภาษีที่ทางเทศบาลจัดเก็บเองเช่นภาษีป้ายภาษีบำรุงท้องที่ภาษีโรงเรือนเป็นต้นปัจจุบันนี้การเก็บภาษีบำรุงท้องที่ภาษีโรงเรือนเปลี่ยนมาเป็นภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ใน 3 -4 ปีตั้งแต่ 62,63,64,65 หลังจากเปลี่ยนเป็นภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้าง สิ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับผลกระทบก็คือส่วนกลางสั่งให้เทศบาลหรือท้องถิ่นจัดเก็บจาก 100% เหลือ 10% ซึ่งเงินรายได้ตัวนี้ท้องถิ่นหายไปเยอะมากเมื่อปี 63 รัฐบาลจัดสรรเงินส่วนกลางให้กับเทศบาลตำบลถ้าจำไม่ผิดได้คืนมา 90% โดยภาพรวมแต่ในส่วนของเทศบาลเมืองเทศบาลนครได้คืนมาไม่เกิน 10% จาก 90% ที่หายไปและปี 64 ก็ยังไม่มีสัญญาณจากทางส่วนกลางหรือทางรัฐบาลว่าในส่วนที่ท้องถิ่นได้รับผลกระทบโดยคำสั่งของรัฐบาลเองว่าจะดูแลและเยียวยาให้กับเทศบาลทั้งเทศบาลตำบลและเทศบาลเมืองเทศบาลนครในทิศทางไหนพอเข้าสู่ปีงบประมาณ 65 ก็ถึงมีการคลายล็อคให้จัดเก็บ 100% แต่ก็มีการผ่อนผันให้ผู้ที่เสียภาษีสามารถผ่อนผันได้โดยมีกำหนดระยะเวลาและมีเงื่อนไข ในส่วนรายได้ภาษีโดยเริ่มจากปี 62 ที่ไม่เคยเขียนเป็น STEP รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีรายได้ไม่เกิน 35 % แต่ในข้อเท็จจริงในปัจจุบันจากส่วนกลางรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รัฐบาลกลางจัดสรรให้ดูจากปีงบประมาณ 2566 ที่ผ่านสภา อยู่ที่ 29% แต่ในที่ 29% ก็มีการแฝงตัวอย่างเช่นงบประมาณผู้สูงอายุซึ่งท้องถิ่นได้รับมาก็ไม่สามารถเป็นอย่างอื่นได้ ผมเปรียบเทียบเหมือนเป็นสื่อกลางเป็นบุรุษไปรษณีย์พอรัฐบาลส่วนกลางจัดสรรมาเราก็ต้องโอนลงพื้นที่ให้กับผู้สูงอายุและคนพิการ ประเด็นคือส่วนกลางเขาก็จับมารวมให้อยู่ในหมวดจัดสรรได้ให้มองดูว่ารายได้เยอะขึ้น หรือแม้แต่นมอาหารกลางวันในส่วนของโรงเรียนเทศบาลเองไม่มีปัญหาแต่ในส่วนโรงเรียนที่อยู่ในส่วนของ สพฐ.ก็มาจับโยนอยู่ในยอดนี้จัดส่งมาให้ทางเทศบาลหรืออบต.เราก็ส่งต่อให้กับโรงเรียน สพฐ.ซึ่งเราจะไปทำอย่างอื่นไม่ได้ ดังนั้นในภาพรวมเหมือนอาจจะดูได้เยอะ 29% แต่สามารถในเม็ดเงินจริงๆที่ทางท้องถิ่นสามารถมาทำประโยชน์ให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชนในเขตท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นได้โดยอิสระเราต้องยอมรับว่าปัญหาความเดือดร้อนความต้องการต่างๆของแต่ละท้องที่ของแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไปเพราะฉะนั้นกฎหมายรัฐธรรมนูญก็เขียนระบุไว้ชัดเจนว่าต้องให้ความเป็นอิสระกับองค์กรส่วนท้องถิ่นโดยการกระจายอำนาจก็ทางดูแล้วมันคือการกระจายอำนาจทางส่วนกลางถือว่ายังไม่กระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างดีขึ้น
ในส่วนการทำหน้าที่ของนายกเทศมนตรีผมว่าทุกคนส่วนมากมาจากศักยภาพของตัวเองมาจากการได้คลุกคลีกับพี่น้องประชาชนในแต่ละพื้นที่มาจากนโยบายต่างๆนำเสนอกับพ่อแม่พี่น้องประชาชนแล้วไปถูกใจพ่อแม่พี่น้องประชาชนในมุมกลับกันผมคิดว่าในการเลือกตั้งของระหว่างท้องถิ่นกับระดับชาติความคิดของพ่อแม่พี่น้องประชาชนในแต่ละเขตน่าจะไม่เหมือนกันที่น่าจะไม่เหมือนกันก็คือในส่วนของถิ่นเองถือว่าผู้บริหารท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นเทศบาลหรือจะเป็น อบต.ความใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารกับพ่อแม่พี่น้องประชาชนจะใกล้ชิดมากกว่าการเมืองระดับชาติเพราะฉะนั้นในส่วนของท้องถิ่นเขาก็จะต้องดูว่าเขาเลือกมาแล้วคนที่จะมาเป็นตัวแทนเขาจะมาดูแลเขาได้ไหมจะมาพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่นนั้นๆจะทำให้ก่อเกิดประโยชน์กับเขาได้ไหมในส่วนของการเลือกตั้งระดับชาติ เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปจากสมัยก่อนสมัยก่อนต้องยอมรับว่าพ่อแม่พี่น้องประชาชนส่วนมากจะยึดติดกับตัวบุคคลพรรคการเมืองจะไม่มีผลเท่าไหร่แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปเขาจะดูว่าพรรคการเมืองไหนมีนโยบายดีๆที่มานำเสนอให้กับเขา ก็จะเป็นการตัดสินใจเลือกพรรคใดพรรคหนึ่งอีกส่วนหนึ่งในส่วนของผู้สมัครสส.เขตเขาก็จะดูว่าคนนี้สามารถไปเป็นตัวแทนสามารถเข้าไปทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนของเขาในสภาสูงได้หรือไม่ได้ดีขนาดไหนเราต้องยอมรับว่าสังคมไทยการไปมาหาสู่ไปงานต่างๆยังมีผลต่อการตัดสินใจของพ่อแม่พี่น้องประชาชนผมคิดว่าพรรคการเมืองคงมาบีบบังคับนักการเมืองท้องถิ่นไม่ได้และขณะเดียวกันนักการเมืองท้องถิ่นก็คงไม่สามารถไปบังคับจิตใจพ่อแม่พี่น้องประชาชนในแต่ละพื้นที่ว่าจะให้เลือกใครได้เพราะเราต้องยอมรับว่าผมย้อนกลับมาในการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นเทศบาลไม่ว่าจะเป็น อบต.คนเก่าได้กลับมาของเทศบาล 30 กว่าเปอร์เซ็นต์คนใหม่ 60 กว่าเปอร์เซ็นต์เหมือนกัน อบต.ก็ใกล้เคียงกันคนใหม่ 60 กว่าเปอร์เซ็นต์คนเก่าประมาณ 30
อนันต์ วิจิตรประชา จ.ปทุมธานี