จากกรณีช้างป่าในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี บริเวณ ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบ และ บ้านป่าเด็ง ต.ป่างเด็ง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ได้มีโขลงช้างป่าได้ปีนข้ามแนวรั้วป้องกันช้างป่าจุดที่ชำรุดออกมาหากิน ริมถนนสายพุไทร – ไทรเอนเส้นทางท่องเที่ยว และพบแนวรั่วป้องกันช้างป่าหลายจุด ชำรุด ทรุดโทรม บางจุดมีความสูงเพียง2เมตร ทำให้ป้องกันช้างป่าโตเต็มวัยปีนข้ามรั่วไม่ได้ ช้างสามารถปีนรั่วข้ามออกมาหากินพืชสวนของชาวบ้าน จนสร้างความเดือดร้อน เสียหายแก่พืชผลทางการเกษตรของชาวบ้านในพื้นที่มาอย่างยาวนาน
ความคืบหน้าล่าสุดวันที่ ( 29 ส.ค.66)นายสมเจตย์ จันทนา หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เปิดเผยว่า ปัญหาช้างป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่ง เจ้าหน้าที่เคยสำรวจประชากรช้างปืที่ผ่านมากว่า 10 ปีพบมีประชากรช้างป่า จำนวน200-250 ตัว ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ส่วนกลางของพื้นที่อุทยานฯ ส่วนช้างที่ออกมาสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน เป็นบริเวณโซนล่างของพื้นที่อุทยาน อาทิ ในพื้นที่ อบต.ป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และพื้นที่ อบต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การป้องกันและเฝ้าระวังทางอุทยานได้จัดชุดผลักดันช้าง จำนวน 4 ชุด ทำงานทั้งกลางวัน และกลางคืนตลอด24 ชั่วโมง พร้อมทั้ง ร่วมกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เครือข่ายภาคประชาชน รวม10หมู่บ้าน ใน2จังหวัด การแก้ปัญหาทางภาคประชาชนได้พยายามทำแนวรั้วป้องกันช้าง
โดยได้รับการอนุเคราะห์จากหลายๆหน่วยงานบูรณาการร่วมกัน ทาง อบต.ป่าเด็งได้ทำแนวรั้วในพื้นที่ระยะทาง14 กิโลเมตร อบต.ห้วยสัตว์ใหญ่ สร้างแนวรั้วป้องกันช้างในพื้นที่จำนวน 11 กิโลเมตร ซึ่งรั้วที่ทำขึ้นในอดีตเป็นการรวบรวมงบประมาณจากชาวบ้านกันเองในพื้นที่ จากการทอดผ้าป่า ทำบุญ นำเงินมาสร้างรั้ว ซึ่งตอนนั้นเป็นการสร้างรั้วทดลอง จุบันพบว่าแนวรั้วที่ทำในอดีต ในพื้นที่ตำบลป่าเด็ง และพื้นที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ นั้นอยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ปัจจุบันพบแนวรั้วช้างมีการชำรุดหลายจุด ความสูงของเสาแนวรั้วไม่เพียงพอต่อขนาดของช้างเมื่อโตเต็มวัย ลวดสลิง หรือเหล็ก มีความคงทนแข็งแรงไม่เพียงพอ แต่ก็พบว่าโครงสร้างของแนวรั้วยังแข็งแรงดีอยู่ หากได้งบประมาณเข้ามาเพิ่มหรือมาสนับสนุนสร้างแนวรั้วป้องกันช้าง เข้ามาซ่อมแซมหรือก่อสร้างใหม่บางจุดให้แข็งแรงกว่าเดิม ก็จะสามารถป้องกันช้างป่าได้อย่างเต็มที่ และทำให้ชาวบ้านอุ่นใจมากขึ้น
ปัจจุบันช้างที่ออกมาหากินพบว่าช้างออกมาทางจุดแนวรั้วที่ชำรุดเสียหาย และจากการสำรวจข้อมูลจากในอดีตจนถึงปัจจุบัน การจัดทำแหล่งน้ำ แปลงปลูกหญ้า แปลงปลูกพืชอาหารช้าง จุดทำโป่งเทียม ที่ทำขึ้นมาอาจจะไม่ได้คิดถึงผลในอนาคต อยู่นอกเขตอุทยานทั้งสิ้น ส่งผลให้ช้างป่าไม่เข้าไปหากินในเขตอุทยาน แต่ช้างป่าออกมาหากินนอกเขตอุทยานและสวนผลไม้ของของชาวบ้านจนได้รับความเดือดร้อนมานาน ซึ่งหลังจากนี้ทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จะร่วม บูรณาการกับหลายหน่วยงานในพื้นที่ ให้มีการจัดทำในเขตอุทยานฯ จะไม่มีการทำปลูกพืชอาหารให้ช้างนอกเขตอุทยานเด็ดขาด เพื่อป้องกันช้างป่าไม่ให้ออกมาหากินนอกเขตอุทยานฯ และออก มาสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านอีก ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวได้เป้นอย่างดี
บรณรต เจริญกิจสัมพันธ์ จ.เพชรบุรี