ทุกภาคส่วนร่วมหารือวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำตกวังก้านเหลือง น้ำตกที่สวยที่สุดในจังหวัดลพบุรี เพื่อเตรียมพร้อมรับเทศกาลท่องเที่ยวในช่วงปลายปีนี้ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับท่องถิ่นลพบุรีได้เป็นอย่างดี
วันที่ (23 ส.ค.66 ) นายรังสรรค์ ดวงลูกแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าดินดำ ได้เป็นประธานในการประชุมแก้ไขและวางแนวทางการพัฒนาพื้นที่น้ำตกวังก้านเหลือง ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกันจากทุกภาคส่วนอันประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่สวนรุกชาติวังก้านเหลือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการร้านค้า ประชาชน
ในการประชุมในวันนี้เพื่อเป็นการรับฟังปัญหาและหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นที่จะได้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวมาเยือนแล้วมีความสุข
โดยพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในเรื่องการจัดระเบียบที่จอดรถ การตั้งจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ราคาสินค้าที่ต้องมีการแสดงราคาชัดเจนและสะอาด การกำจัดขยะที่จะไม่ให้นักท่องเที่ยวทิ้งลงในน้ำตก ความปลอดภัย ห้องสุขาที่สะอาดพอเพียงกับนักท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ ปรับปรุงสะพานข้ามน้ำตกที่ชำรุด ซึ่งในเรื่องต่าง ๆ อยู่ในความรับผิดชอบ ความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่จะต้องดำเนินการร่วมกัน เพื่อเตรียมการรับนักท่องเที่ยวที่จะมาเยือนในช่วงวันหยุด และเทศกาลท่องเที่ยวในช่วงปลายปี โดยเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับประชาชนชาวจังหวัดลพบุรีเพราะน้ำตกวังก้านเหลืองแห่งนี้เป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดและมีน้ำตกไหลตลอดทั้งปี ซึ่งในช่วงวันหยุดปกติก็จะมีนักท่องเที่ยวมาเยือนน้ำตกวังก้านเหลืองเป็นจำนวนมาก
สำหรับสวนรุกชาติวังก้านเหลืองอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติชัยบาดาล เชื่อมต่อ 2 อำเภอคือหมู่ที่ 4 ตำบลท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล และ หมู่ที่ 6 ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 68 กิโลเมตรน้ำตกวังก้านเหลืองเกิดจากตาน้ำขนาดใหญ่ผุดขึ้นมากลางลำห้วยมะกอกมีน้ำไหลทั้งปี โดยใน พ.ศ. 2518 จังหวัดลพบุรี ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณน้ำตก เพื่อส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด นอกจากนี้ยังมีพรรณไม้ทางธรรมชาติ มีพื้นที่ประมาณ 350 ไร่สวนรุกชาติวังก้านเหลืองเดิมมีต้นก้านเหลืองขึ้นอยู่จำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตกวังก้านเหลือง และไหลลงไปแม่น้ำป่าสักมีความประมาณ 2.5 กิโลเมตรเป็นน้ำ ตกหินตะกอนดินเป็นดินร่วนปนเหนียวสภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณตามริมลำห้วยมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ มีพรรณไม้ประมาณ 140 ชนิดอาทิ ต้นก้านเหลือง ต้นสัตตบรรณ จำปีป่า ดีหมี กระเบากลัก ประดู่ส้ม มะหาด จันทน์ผา ลำพูป่า และพืชพันธุ์อื่นๆ จำนวนมาก
กฤษณ์ สนใจ จ.ลพบุรี