เมื่อเวลา 08.30น.วันที่ (21 พ.ย.65 )ที่ สนามบินท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ นายนิติ บุณยเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและการผลิตสื่อ (อพวช.) พร้อมคณะ ให้การต้อนรับ คณะนักกีฬา แข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ WORLD ROBOT OLYMPIAD ที่กลับจากการแข่งขัน โอลิมปิกหุ่นยนต์ WORLD ROBOT OLYMPIAD ระดับนานาชาติ ระหว่างวันที่ 17 – 19 พฤศจิกายน 2565 ณ เมืองดอร์ทมุนต์ ประเทศ เยอรมนี พร้อมกับคณะและเหล่าผู้ปกครอง กว่า 60 ชีวิต ท่ามกลางการรอต้อนรับจากผู้ปกครอง กองเชียร์และสื่อมวลชนอย่างอบอุ่น โดยเดินทางถึง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย โดยสายการบิน เอทิฮัดแอร์เวล์ เที่ยวบิน EY 402 เครื่องลงเวลา 07.55 น.
จากการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ WORLD ROBOT OLYMPIAD ระดับนานาชาติ ระหว่างวันที่ 17 – 19 พฤศจิกายน 2565 ณ เมืองดอร์ทมุนต์ ประเทศ เยอรมนี ปากฎว่า นักกีฬา ตัวแทนประเทศไทย สามารถคว้า 2 รางวัลใหญ่ โดยทีม ThaiHerbGood จากโรงเรียน อัสสัมชัญ ลำปาง สมาชิกในทีม 1.นายปพนรัตน์ ฟูใจ / 2.นายเขมินท์ พินิตเกียรติสกุล ผู้ควบคุมทีม / 3.นายอรรถพล ชื่นกุล คว้ารางวัลชนะเลิศ ประเภท ROBOMISSION รุ่น Senior และทีม PANYA ROBOT จากสถาบันปัญญาโรบอท กรุงเทพมหานคร สมาชิกในทีม 1. นายโชติพิสุทธิ์ มงคลวิสุทธิ์ / 2. นายพิสิษฐ์ มงคลวิสุทธิ์ / 3. นายวรกร ฤกษ์สมถวิล คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภท ROBOSPORTS
นายนิติ บุณยเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและการผลิตสื่อ (อพวช.) เปิดเผยว่า การแข่งขัน ในครั้งนี้ พูดได้เต็มปากว่าเด็กไทยเรามีศักยภาพที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก เนื่องจากเราเห็นถึงความมุ่งมั่นและความสามารถของเด็กไทยเป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่าเด็กไทยสามารถคว้ารางวัลอันดับ 1 และอันดับ 3 ของการแข่งขัน 3 ประเภท รวมทั้งสิ้น 11 ทีม การแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์เป็นการแข่งขันออกแบบและเขียนโปรแกรม หุ่นยนต์ เพื่อทำภารกิจ โดยใช้หุ่นยนต์จาก Lego Education การแข่งขันในโอลิมปิกหุ่นยนต์ ระดับนานาชาติ ครั้งนี้มีทีมเข้าการแข่งขันรวม 365 ทีม จาก 73 ประเทศทั่วโลก
นายปพนรัตน์ ฟูใจ โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง เปิดเผยว่ากว่าจะได้เข้าร่วมแข่งขันในครั้งนี้ต้องเตรียมตัวกันมาเป็นพอได้ไปแข่งขันจริงก็ไม่คาดคิดว่าจะได้เป็นที่หนึ่งของโลกในครั้งนี้ จากการแข่งขันวันแรกที่ได้ต่ำกว่าอันดับที่ 20 จนต้องกลับมาฝึกซ้อมอย่างหนักอีกครั้งจนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาให้กับประเทศไทยในครั้งนี้
ผศ.ดร.เทิดศักดิ์ อินทโชติ ผู้จัดการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ WRO ประเทศไทย ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศไทยส่งเด็กไทยไปแข่งขันในเวทีนานชาติ ระบุว่า หลังจากที่ผ่านช่วงโควิดมา ทำให้การจัดการแข่งขันในประเทศไทยห้วงเวลาที่ผ่านมาอาจทำได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะการคัดเลือกทีมที่จะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในเวทีนานาชาติ พอได้มีโอกาสไปแข่งขันในครั้งนี้ ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีอีกครั้ง ที่หลายๆชาติได้มาเจอกัน ได้มาแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างหุ่นยนต์ เปรียบเสมือนเสมือนเป็นการเผยแพร่ความคิดในการสร้างหุ่นยนต์ของแต่ละประเทศแล้วมาเจอกันแลกเปลี่ยนมุมมองการออกแบบการสร้างจากหลายๆประเทศ เด็กๆก็จะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในเวทีมาต่อยอดการสร้างผลงานสู่การนำไปใช้งานได้จริงในอนาคตของประเทศไทย
สุรศักดิ์ คงสินธ์ / ธนวัต นาคขำ จ.สมุทรปราการ